วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดอันดับสโมสรฟุตบอลของโลก 20 อันดับแรก

  1. Flag of สเปน สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา - 341
  2. Flag of อังกฤษ สโมสรฟุตบอลเชลซี - 292
  3. Flag of อังกฤษ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด - 291
  4. แม่แบบ:Country data Ukrain สโมสรฟุตบอลชัคเตอร์ โดเนสต์ - 275
  5. Flag of เยอรมนี สโมสรฟุตบอลแวร์เดอร์ เบรเมน - 272
  6. Flag of เยอรมนี สโมสรฟุตบอลฮัมบูรก์ - 264
  7. Flag of อังกฤษ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล - 260
  8. Flag of อิตาลี สโมสรฟุตบอลเอซีมิลาน - 235,0
  9. Flag of อิตาลี สโมสรฟุตบอลโรมา - 234,0
  10. Flag of อังกฤษ สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล - 233,0
  11. Flag of สกอตแลนด์ สโมสรฟุตบอลกลาสโกว์ เรนเจอร์ส - 231,5
  12. Flag of เยอรมนี สโมสรฟุตบอลฮัมบูร์ก - 224,0
  13. Flag of อิตาลี สโมสรฟุตบอลอินเตอร์นาชีโอนาเล มีลาโน - 222,0
  14. Flag of สเปน สโมสรฟุตบอลเกตาเฟซีเอฟ - 220,0
  15. Flag of อิตาลี สโมสรฟุตบอลฟิออเรนตีนา - 218,0
  16. Flag of สเปน สโมสรฟุตบอลอัตเลตีโกมาดริด - 210,0
  17. Flag of บราซิล สโมสรฟุตบอลเซาเปาโล - 209,0
  18. Flag of อาร์เจนตินา Arsenal de Sarandí - 206,0
  19. Flag of สเปน สโมสรฟุตบอลบิญาเรอัล - 204,0
  20. Flag of สเปน สโมสรฟุตบอลเกตาเฟ - 204,0

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation)

                              

            


สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (Asian Football Confederation) หรือ เอเอฟซี (AFC) เป็นองค์กรที่ควบคุมการแข่งขันฟุตบอลในทวีปเอเชีย จัดการเกี่ยวกับทีมฟุตบอล เงินรางวัล กฎระเบียบ รวมถึงลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดฟุตบอล เอเอฟซีเป็น 1 ใน 6 สมาคมที่จัดการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกของฟีฟ่า
เอเอฟซีก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2497 ที่ มะนิลา ในประเทศฟิลิปปินส์ ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ย้ายมาอยู่ที่ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ




สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

       สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ




สหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ หรือ IFFHS (The International Federation of Football History & Statistics ) คือองค์กรที่จดบันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว และสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวกับฟุตบอลในแต่ละช่วงเวลา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี มีผลงานเช่น การจัดอันดับสโมสรฟุตบอลของโลก ที่เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยคำนวณจากผลงานในรอบปี ของการแข่งขันภายในทวีป และระหว่างทวีป ฟุตบอลลีกของแต่ละประเทศ (รวมถึงการแข่งขันคัดเลือกขึ้นสู่ฟุตบอลลีกในระดับที่สูงขึ้น หรือ เพลย์ออฟ)และฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญในประเทศ


ผู้เล่น และอุปกรณ์ การเล่นฟุตบอล

                    

        ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คนที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมี ผู้รักษาประตูหนึ่งคน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน(ในกรณีที่ผู้เล่นโดนใบแดง) เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้(แต่จะสามารถใช้ส่วนอื่นยกเว้นมือแขนเพราะจะFourทันทีเมื่อกรรมการเห็น)
อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 – 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่า อัญมณีหรือนาฬิกา และผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน จากฟีฟ่า
ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยนตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกในนัดนั้น
กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน ซึ่งผู้เล่นจะไม่สามารถคัดค้านกรรมการได้ในเวลาเล่นเพราะตัดสินไปแล้วจะไม่สามารถแก้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระยะเวลาการแข่งขัน


การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน
ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ(ง่ายๆคือการแข่งชิงถ้วย) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ (ด้านการเตะลูกโทษมีคนวิจัยมาว่าทีมไหนเตะก่อนจะมีเปอร์เซนต์การชนะมากกว่าทีมที่เตะทีหลัง)
ไอเอฟเอบีได้ทดลองการกำหนดรูปแบบการทำคะแนนในช่วงต่อเวลาที่เรียกว่า โกลเดนโกล โดยทีมที่ทำประตูได้ก่อนในช่วงต่อเวลาจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน และ ซิลเวอร์โกล โดยทีมที่ทำประตูนำเมื่อจบครึ่งเวลาแรกจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน โดยโกลเดนโกลได้ถูกนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2002 โดยมีการใช้ครั้งแรกในการแข่งขันทีมชาติฝรั่งเศส ชนะ ปารากวัย ในปี 1998 ขณะที่ซิลเวอร์โกลได้มีการใช้ครั้งแรกในฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งปัจจุบันโกลเดนโกล และซิลเวอร์โกลไม่มีการใช้แล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กติกาฟุตบอล





กติกาฟุตบอล (อังกฤษ: The Laws of the Game) เป็นกฎและกติกาฟุตบอลสากลที่กำหนดโดยสมาคมฟุตบอล ในปัจจุบันมีทั้งหมด 17 ข้อ ดูแลโดยหน่วยงานไอเอฟเอบี
  • กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล เป็นสนามหญ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 100 หลา ยาว 130 หลา และทำเส้นต่างๆ ในสนามเป็นสีขาวมีลักษณะตามภาพ
  • กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล เป็นทรงกลม ทำจากหนัง หรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสมที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น เป็นฟุตบอลเบอร์ 5 มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 410-450 กรัม
  • กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน 11 คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน
  • กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ ลูกฟุตบอล (ตามกฏข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าเล่น) ที่กล่าวมาเป็นอุปกรณ์การเล่นที่ต้องมีในการแข่งขัน ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่กติกาไม่บังคับแต่ผู้เล่นมักจะนิยมใช้กัน คือ สนับแข้ง, ถุงมือและหมวกสำหรับผู้รักษาประตู และยังมีอุปกรณ์ปลีกย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่สามารถอนุโลมให้ใส่ในเวลาลงเล่นได้ เช่น แว่นตา (สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางตา), หน้ากาก, เฮดเกียร์ เป็นต้น
  • กฎข้อที่ 5: กรรมการ
  • กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
  • กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
  • กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
  • กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
  • กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
  • กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
  • กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
  • กฎข้อที่ 14: ลูกโทษ
  • กฎข้อที่ 15: การทุ่ม
  • กฎข้อที่ 16: โกลคิก
  • กฎข้อที่ 17: การเตะมุม